Open Large Modal
×
เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามการแจ้งเหตุ
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
forgotpassword?
login
เข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาและดูรายงานสรุป
เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
(สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น)
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
login
เข้าสู่ระบบ
สำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลเว็บไซต์
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
ข้อมูลเทศบาล
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
อำนาจหน้าที่
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
บุคลากร
โครงสร้างหน่วยงาน
รู้จักนายก
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
พนักงานและเจ้าหน้าที่
ยุทธศาสตร์/แผนงาน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปี
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
แผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
ระเบียบหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคล
คู่มือพจนาณุกรมสมรรถนะของข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
แผนอัตรากำลัง
แผนพัฒนาบุคลากร
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
การจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร KM
ประมวลจริยธรรมของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
งานนิติการ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตามมาตรฐานทางจริยธรรม
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
หน่วยตรวจสอบภายใน
กฏบัตรการตรวจสอบภายใน และกรอบคุณธรรม
คลังความรู้
แผนการตรวจสอบภายใน
ควบคุมภายใน
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงประจำปี
การบริการ
บริการนักท่องเที่ยว
ข้อมูลการเดินทาง
สถานที่ท่องเที่ยว
วีดีโอ
ปฏิทินท่องเที่ยว
10 ที่เที่ยวสุดฮิต
วันเดียวเที่ยวอัมพวา
ข้อมูลที่พัก
ข้อมูลร้านอาหาร
ตลาดในเขตพื้นที่
ผลิตภัณฑ์ตำบล
ชุมชน/องค์กร
โรงเรียนในสังกัด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลอัมพวา
กลุ่มสตรีเทศบาลตำบลอัมพวา
สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลอัมพวา
บริการประชาชน
คู่มือสำหรับประชาชน
ข่าวอบรม/สัมมนา
รายงานสรุปผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการเทศบาล
ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหาร
ปฏิทินกิจกรรมหน่วยงาน
งานบริการ
ศูนย์ดำรงธรรม
เอกสารดาวน์โหลด/คำร้อง
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวสาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
สื่อประชาสัมพันธ์
วิดีโอ
ประกาศเทศบาลตำบลอัมพวา
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวประชาสัมพันธ์หน่วยงานราชการ
ข่าวสารในเครือข่าย อปท. จังหวัดสมุทรสงคราม
งานกิจการสภา
ประกาศสภาเทศบาลตำบลอัมพวา
การเลือกตั้ง
กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ข้อมูล
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
ภาษีและค่าธรรมเนียม
การชำระภาษี (กองคลัง)
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่ศูนย์ข้อมูลข่าสารฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์
สถิติผู้เข้าใช้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์
การประเมิน
ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
การประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA)
รายงานการประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA)
เอกสาร/รายงาน
รายงาน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ6เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานผลการควบคุมภายใน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ6เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันทุจริตประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมณประจำปี รอบ6เดือน
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
การเปิดโอกาศให้เกิดการมีส่วนร่วม
รายงานผลการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำ การจัดบริการสาธารณะ
เอกสารงานคลัง
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
เอกสาร
รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
รายงานทางการเงิน
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
รายงานการโอนงบประมาณ
รายรับ-รายจ่าย
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ6เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
งบแสดงฐานะทางการเงินการคลัง
รายงานการตรวจสอบรายงานการเงิน
รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
รายงานการประชุม
รายงานการประชุมสภา
รายงานการประชุมผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ
ติดต่อเทศบาล
ติดต่อเทศบาล
ติดต่อเทศบาลตำบลอัมพวา
ที่ตั้งสำนักงาน
หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
สายตรงผู้บริหาร
กระดานสนทนา (Web Board)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/คำแนะนำ
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
แบบฟอร์มร้องเรียนร้องทุกข์
แบบฟอร์มแจ้งเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่/พนักงาน
ระบบติดตามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ด้วยตนเอง
การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์
สรุปผลแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลอัมพวา
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ก
ก
ก
ภาษา
TH
ภาษาเขมร
English
简体中文
日本語
ภาษาพม่า
ภาษาฟิลิปปินส์
Malay
ภาษาลาว
Tiếng Việt
Indonesia
Burmese
Chinese
English
Filipino
Indonesia
Japanese
Khmer
Korean
Laotian
Melayu
Thai
Vietnamese
Arabic
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
ข้อมูลเทศบาล
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
อำนาจหน้าที่
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
บุคลากร
โครงสร้างหน่วยงาน
รู้จักนายก
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
พนักงานและเจ้าหน้าที่
ยุทธศาสตร์/แผนงาน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปี
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
แผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
ระเบียบหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคล
คู่มือพจนาณุกรมสมรรถนะของข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
แผนอัตรากำลัง
แผนพัฒนาบุคลากร
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
การจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร KM
ประมวลจริยธรรมของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
งานนิติการ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตามมาตรฐานทางจริยธรรม
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
หน่วยตรวจสอบภายใน
กฏบัตรการตรวจสอบภายใน และกรอบคุณธรรม
คลังความรู้
แผนการตรวจสอบภายใน
ควบคุมภายใน
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงประจำปี
การบริการ
บริการนักท่องเที่ยว
ข้อมูลการเดินทาง
สถานที่ท่องเที่ยว
วีดีโอ
ปฏิทินท่องเที่ยว
10 ที่เที่ยวสุดฮิต
วันเดียวเที่ยวอัมพวา
ข้อมูลที่พัก
ข้อมูลร้านอาหาร
ตลาดในเขตพื้นที่
ผลิตภัณฑ์ตำบล
ชุมชน/องค์กร
โรงเรียนในสังกัด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลอัมพวา
กลุ่มสตรีเทศบาลตำบลอัมพวา
สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลอัมพวา
บริการประชาชน
คู่มือสำหรับประชาชน
ข่าวอบรม/สัมมนา
รายงานสรุปผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการเทศบาล
ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหาร
ปฏิทินกิจกรรมหน่วยงาน
งานบริการ
ศูนย์ดำรงธรรม
เอกสารดาวน์โหลด/คำร้อง
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวสาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
สื่อประชาสัมพันธ์
วิดีโอ
ประกาศเทศบาลตำบลอัมพวา
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวประชาสัมพันธ์หน่วยงานราชการ
ข่าวสารในเครือข่าย อปท. จังหวัดสมุทรสงคราม
งานกิจการสภา
ประกาศสภาเทศบาลตำบลอัมพวา
การเลือกตั้ง
กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ข้อมูล
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
ภาษีและค่าธรรมเนียม
การชำระภาษี (กองคลัง)
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่ศูนย์ข้อมูลข่าสารฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์
สถิติผู้เข้าใช้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์
การประเมิน
ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
การประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA)
รายงานการประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA)
เอกสาร/รายงาน
รายงาน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ6เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานผลการควบคุมภายใน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ6เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันทุจริตประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมณประจำปี รอบ6เดือน
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
การเปิดโอกาศให้เกิดการมีส่วนร่วม
รายงานผลการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำ การจัดบริการสาธารณะ
เอกสารงานคลัง
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
เอกสาร
รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
รายงานทางการเงิน
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
รายงานการโอนงบประมาณ
รายรับ-รายจ่าย
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ6เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
งบแสดงฐานะทางการเงินการคลัง
รายงานการตรวจสอบรายงานการเงิน
รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
รายงานการประชุม
รายงานการประชุมสภา
รายงานการประชุมผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ
ติดต่อเทศบาล
ติดต่อเทศบาล
ติดต่อเทศบาลตำบลอัมพวา
ที่ตั้งสำนักงาน
หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
สายตรงผู้บริหาร
กระดานสนทนา (Web Board)
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/คำแนะนำ
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
แบบฟอร์มร้องเรียนร้องทุกข์
แบบฟอร์มแจ้งเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่/พนักงาน
ระบบติดตามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ด้วยตนเอง
การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์
สรุปผลแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลอัมพวา
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
หน้าหลัก
10 ที่เที่ยวสุดฮิต
10 ที่เที่ยวสุดฮิต
เรียงลำดับข้อมูล
ดูเยอะที่สุด
ดูน้อยที่สุด
เลือกช่วงเวลา
ตั้งแต่เดือน
เลือกเดือน
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี
เลือกปี
2568
2567
2566
2565
2564
2563
2562
2561
2560
2559
2558
ถึงเดือน
เลือกเดือน
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี
เลือกปี
2568
2567
2566
2565
2564
2563
2562
2561
2560
2559
2558
ค้นหา
จำนวน10 ที่เที่ยวสุดฮิต ทั้งหมด 10 รายการ
สถานที่ท่องเที่ยวอุทยาน ร.2
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเรียกกันว่า "อุทยาน ร.๒" เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปะอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ อุทยาน ร.๒ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ลานจอดรถหน้าอุทยาน สำนักงานอุทยาน และจุดจำหน่ายบัตรเข้าชม มีร้านขายของที่ระลึก ร้านกาแฟสด และอาศรมศึกษาซึ่งเป็นเรือนไทยโบราณ จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ขนมไทยจำลอง ส่วนที่ 2 โรงละครกลางแจ้ง มีเนินลดหลั่นสำหรับใช้จัดการแสดงโขน ละคร ดนตรี ตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนี้ยังใช้ในการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในโอกาสต่างๆ ส่วนที่ 3 อาคารทรงไทยหมู่ 5 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงศิลปวัตถุในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 แบ่งออก 6 โซน คือ โซนที่ 1 หอกลาง ภายในจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งจำลองวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น อาทิ การจัดแสดงห้องพระ ห้องนอน การนวดประคบ โต๊ะเครื่องแป้ง การรีดและอัดกลีบผ้าสไบ และศิลปะโบราณวัตถุสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย เป็นต้น โซนที่ 2 ห้องชาย ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทย ที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องรักษาผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีดาบ โล่ และการเรียนการสอนของเด็กชายไทยในสมัยนั้น รวมถึงการละเล่นหมากสกา เป็นต้น โซนที่ 3 ห้องหญิง ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีการจีบบายศรี เครื่องใช้สำหรับเด็ก เป็นต้น โซนที่ 4 ชานเรือน จัดตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว โซนที่ 5 ตำแหน่งศิลาฤกษ์ แสดงแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โซนที่ 6 พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอัมพวา ภายในจัดแสดงประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณี ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของอัมพวาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติของบุคคลสำคัญที่มีภูมิลำเนาในอำเภออัมพวา อาทิเช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูทูล ทองใจ เป็นต้น ส่วนที่ 4 สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดี รวบรวมพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดเพื่อแก่การศึกษาและอนุรักษ์ นอกจากนี้ยังมีงานปะติมากรรมตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อาทิ รูปหล่อตัวละครเรื่องสังข์ทอง ไกรทอง รามเกียรติ์ ส่วนที่ 5 อาคารเรือนไทยหมู่ 9 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสื่อมัลติมีเดียเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ รวมถึงพระอัจฉริยะภาพในทางวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีไทย นาฏศิลป์ จิตรกรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งสนามจันทร์จำลอง (ศาลาทรงงาน) ส่วนที่ 6 พื้นที่ติดริมแม่น้ำแม่กลอง จุดชมวิว จุดถ่ายรูป มีเรือประพาสอุทยาน
11 พฤศจิกายน 2564
6899
แชร์
หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต
พระอุปฌาย์คง ธมฺมโชโต หรือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในอดีต ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เหรียญทองแดงเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับที่ 4 ของชุดเบญจภาคีเหรียญ ที่มีราคาสูงและหายากยิ่ง รองลงมาคือเหรียญรุ่นปาดตาลปี พ.ศ. 2486 เนื่อเงินลงยา ที่มีประสบการณ์สูงส่ง ขนาดมีดปาดตาลที่คมกริบยังไม่ระคายผิว
7 พฤศจิกายน 2567
5996
แชร์
วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร
วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นพระอารามหลวง ชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทิศเหนือจดถนนหลวง ทิศใต้จดแม่น้ำแม่กลอง ด้านข้างทั้งสองด้านติดกับลำคลอง วัดนี้สร้างในสมัย ร.๑ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้รับวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๓๒๕ วัดอัมพวันเจติยาราม มีความสำคัญยิ่ง ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นนิวาสสถานเดิมของหลวงยกบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ราชวงศ์จักรี) และคุณนาก (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินี ใน รัชกาลที่ ๑) ได้มาอาศัยอยู่หลังจากที่บ้านเดิมใกล้วัดจุฬามณีถูกไฟไหม้ไปหมดแล้ว เมื่ออพยพมาจากป่า บริเวณหลังวัดจุฬามณี จึงได้มาอาศัยอยู่ ณ ที่นี้ และได้คลอดบุตรคนที่ ๔ คือ คุณฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒) ณ สถานที่แห่งนี้ เชื่อกันว่า คือ บริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันฯ ซึ่งรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพื่อบรรจุพระสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชบิดา สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และบรรดาพระญาติได้ร่วมกันสร้างวัดนี้ถวายสมเด็จพระมารดา (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี) ซึ่งได้อุทิศบ้านเดิม และที่ดินทั้งหมดให้สร้างวัดและได้บวชเป็นพระรูปชีจำศีลอยู่ ณ วัดนี้จนตลอดชีวิต วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ตลอดมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระวิหารน้อย (พระที่นั่งทรงธรรม) พระวิหาร และกุฏิใหญ่ รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถทั้งหลังและทรงสร้างโรงธรรมศาลาขึ้นใหม่อีกหลังหนึ่ง รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดอัมพวันฯ ได้ทรุดโทรมลงไปมากได้เสด็จมาทอดพระเนตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ คราวที่เสด็จประพาสมณฑลราชบุรี หลังจากนั้นได้ทรงแต่งตั้งพระครูวัดบ้านแหลมขึ้นเป็นพระราชาคณะที่พระมหาสิทธิการ (แดง) และโปรดให้ไปครองวัดอัมพวันฯ เพื่อไปบูรณปฏิสังขรณ์ให้ทรงสภาพดีขึ้น สิ่งสำคัญของวัด ที่ควรชม และนมัสการ ได้แก่ ๑. พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระปั้นของเก่า ปางมารวิชัย ๒. พระพุทธรูป ปางพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ทางทิศใต้ของพระวิหารใหญ่ ๓. พระพุทธโสธรจำลอง ประดิษฐานอยู่ที่บริเวณลานจันทน์ ๔. วิหารและพระปรางค์ในพระวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่บรรจุพระสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๕. พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๖. พระอุโบสถ พระวิหาร พระที่นั่งทรงธรรม พระตำหนักใหญ่ พระตำหนักเล็ก ศาลาการเปรียญ ตลอดจนกุฏิสงฆ์ พระอุโบสถเดิม ของวัดอัมพวันเจติยาราม (เดิมเรียกว่าวัดอัมพวา) เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถือว่าเป็นวัดต้นวงศ์ราชินีกูลทางฝ่ายสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ เหมือนกับพระอุโบสถ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดต้นวงศ์พระบรมราชวงศ์จักรี ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระอุโบสถของวัดปัจจุบันนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริให้เขียนภาพฝาผนังในพระอุโบสถวัดอัมพวันฯ เรื่องเกี่ยวกับ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับที่เป็นสถานที่พระบรมราชสมภพ โดยแบ่งการเขียนผนังพระอุโบสถเป็นห้องๆ เริ่มตั้งแต่ผนังด้านซ้ายหรือด้านทิศเหนือเวียนไปตามลำดับ ดังนี้ ห้องที่ ๑ พระบรมราชสมภพ ทรงศึกษาอักขรสมัย และโสกันต์ที่บ้านหลวง เมืองบางกอก ห้องที่ ๒ พระราชพิธีสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม และทรงผนวชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ ในพระบรมมหาราชวัง ห้องที่ ๓ พระราชพิธีอุปราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔๙ ห้องที่ ๔ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ห้องที่ ๕ พระราชพิธีรับ และสมโภชพระยาเศวตกุญชร สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ และพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้ามงกุฎ ห้องที่ ๖ สร้างเมืองนครเขื่อนขัณฑ์ ทูตเฝ้า และรับครัวมอญ ห้องที่ ๗ พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีทรงผนวช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ และพระราชพิธีวิสาขบูชา ห้องที่ ๘ การสร้างวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม สร้างเมืองสมุทรปราการ และการสถาปนาพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ฯลฯ การเดินทาง การเดินทางไปวัดอัมพวันเจติยาราม ใช้เส้นทางเดียวกันกับการเดินทางไปอุทยาน ร.๒ เพราะอยู่ติดกัน จากตลาดแม่กลองใช้เส้นทางแม่กลอง – อัมพวา บางนกแขวก ผ่าน วัดแก้วฟ้า วัดบางกะพ้อม วัดนางวัง ถึงแยกไฟเขียวแดง ตรงไปอำเภออัมพวา ข้ามสะพาน คลองอัมพวา ลงจากสะพานถึงวัดอัมพวันเจติยาราม อยู่ทางซ้ายมือ ----------------------------------------------------------------------------------- พระราชสมุทรรังสี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร
11 พฤศจิกายน 2564
4315
แชร์
ตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวา เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งได้พยายามพลิกฟื้นตลาดน้ำอัมพวาในอดีตให้กลับมา เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ และปรับเวลาให้มาเป็นตลาดเย็น ที่เหมาะแก่การเดินเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ทั้ง อาหารต่างๆ ผักผลไม้ ขนมไทย ของใช้ต่างๆ ที่พ่อค้า แม่ค้า นำมาขายทั้งทางเรือ และบนบก โดยร้านรวงต่างๆ จะเริ่มขายของประมาณสี่โมงเย็นไปจนถึงสี่ทุ่ม และด้วยเสน่ห์ของบ้านเรือนสองริมฝั่งน้ำ ที่ยังคงความดั้งเดิมไว้เป็นอย่างดี ทำให้ตลาดน้ำอัมพวาแห่งนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศไปในที่สุด ไฮไลท์ของ ตลาดน้ำ ในคลองอัมพวานั้นจะมี พ่อค้า แม่ค้า พายเรือขายอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น ขนมไทย อาหารทะเลเผา ก๋วยเตี๋ยวเรือ ผัดไทย หอยทอด ขนมใส่ไส้ ขนมกล้วย และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากจะดูมีเสน่ห์ วิถีชีวิตแบบไทยๆ แล้ว เรียกได้ว่ายังเป็นสวรรค์ของนักกินเลยทีเดียว นักท่องเที่ยวจะซื้อของต่างๆ ได้จากเรือพายของพ่อค้าแม่ค้า ชวนให้นึกถึงอดีตอันแสนคลาสิคได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีรถเข็นขายของบนบกด้วย และก็มีร้านรวงเปิดให้เดินชิล หาร้านอร่อยนั่งทานริมน้ำ หรือจะนั่งจิบกาแฟชมบรรยากาศก็ได้ อีกทั้งยังมีเสียงตามสายของชาวชุมชนที่เปิดตลอดเวลา ทั้งการทักทายพูดคุยกับนักท่องเที่ยว หรือร้องเพลงคาราโอเกะ เล่นดนตรีสดกันในทำนองแบบไทยๆ ก็สนุกสนานสร้างบรรยากาศความคึกคักให้กับตลาดน้ำอัมพวามากทีเดียว ทำให้นึกถึงสมัยกระโปรงบาน ขาสั้น เป็นกลิ่นอายของอดีตที่สวยงามมากๆ ล่องเรือชมหิ่งห้อย อัมพวา นอกจากร้านอาหารริมน้ำ ของกินของอร่อยราคาถูก และความสวยงามของวิถีชีวิตสองฟากฝั่งคลองอัมพวาแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมกันมากๆ ก็คือ การล่องเรือชมหิ่งห้อย นั่นเอง เราจะล่องเรือท่ามกลางความมืด สายลมเย็นๆ ปะทะหน้า สูดอากาศดีๆ พร้อมชม หิ่งห้อย ที่ส่องแสงระยิบระยับบนต้นลำพูตลอดทาง ซึ่งทางชุมชนตลาดอัมพวา จะมีการจัดรอบเรือตามไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ ล่องเรือไหว้พระที่อัมพวา นอกจากนี้ ใครที่อยากเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวบ้านริมฝั่งคลอง สามารถนั่งเรือท่องเที่ยวตามแม่น้ำแม่กลองได้อีกด้วย อีกทั้งยังมีโปรแกรม ล่องเรือไหว้พระ ตามวัดริมแม่น้ำได้อีกด้วย แต่ละโปรแกรมเที่ยวจะไม่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการไป ไหว้พระ 5 วัด ริมคลองอัมพวา ราคาเหมาลำประมาณ 500 บาท ซึ่งไปเที่ยวได้ 10 คนด้วยกัน แต่หากเราไม่ได้เช่าเหมาลำ ก็สามารถซื้อโปรแกรมเที่ยวรวมกับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ค่าเรือประมาณ 50 บาท สำหรับใครที่อยากพักค้างคืนที่นี่สักคืน สองคืน ก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะบรรยากาศริมน้ำนั้น มันช่างดีต่อใจจริงๆ รอบๆ ตลาดน้ำอัมพวานั้นก็มีที่พักต่างๆ มากมาย และส่วนใหญ่ จะมีกิจกรรม ตักบาตรทางน้ำ ในตอนเช้ามืดอีกด้วย ที่มา : https://travel.trueid.net/detail/ND2mlGmLP2K
11 พฤศจิกายน 2564
3496
แชร์
สถานที่ท่องเที่ยวโรงเจ
ตั้งขึ้นเมื่อปี 2438 ปัจจุบันมีอายุ 115 ปี เดิมตั้งอยู่ที่วัดบางนางลี่ โดยเป็นสาขาหนึ่งของโรงเจเขาช้าง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ผู้ก่อตั้งคือ นายเทียนเล้ง แซ้เจ็ง และนายบักเจียว แซ่เจี่ย กิจกรรมเริ่มแรกเน้นเรื่อง การนั่งสมาธิ ถือศีลกินเจ ยุคต่อมา นายเง็กกวง แซ่เฮ้ง และคณะกรรมการได้ย้ายสถานที่มาตั้งรวมกับศาลเจ้าเง็กเซ็ง ซึ่งศาลเจ้าเง็กเซ็งนั้น ตั้งขึ้นเมื่อปี 2418 ปัจจุบันอายุ 134 ปี ผู้ก่อตั้งคือ นายตี๊บู้ แซ่จิวและนายชินฮวด แซ่เอี้ย เป็นอาคารไม้หลังคามุงสังกะสี ต่อมาปี 2485 คณะกรรมการโรงเจซำเป้าเก็งเต็ง และศาลเจ้าเง็กเซ็ง ได้มีมติให้รวมโรงเจฯและศาลเจ้าฯเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเจเง็กเซ็งซำเป้าเก็งเต๊ง (โรงเจซำเป้าอัมพวา) และให้สร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม โดยสร้างเป็นอาคารไม้สัก 3 หลัง อาคารหลังกลางเป็นอาคาร 1 ชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูป และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอายุเป็นร้อยปี และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมแก่ผู้ที่ถือศีลกินเจ ส่วนอาคารด้านซ้าย และขวา เป็นอาคาร 2 ชั้น สำหรัเป็นที่พัก ในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่โรงเจฯเจริญเติบโตค่อนข้างมาก มีผู้มาถือศีลกินเจ ปีละหลายพันคน ยุคต่อมา นายเอี่ยมเล้ง แซ่ตั้ง เป็นผู้บริหารโรงเจฯ ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่ 3 หลังจากนั้น นายบู๋ตง แซ่ลิ้ม ผู้บริหารโรงเจฯ รุ่นที่ 4 ประกอบด้วย คณะกรรมการอีก 3 ท่าน คือ นายธนเสฎฐ์ ศุภศรีสรรพ์(บักเส็ง) นายประยุทธ ชีวะผลาบูรณ์ (เทียมหลี) และนายเช็งฮวด แซ่เฮ้ง ได้มีมติให้ปรับปรุงโรงเจฯใหม่ บนเนื้อที่ 5 ไร่ เป็นอาคาร 3 หลัง โดยหลังกลางเป็นอาคารคอนกรีต 1 ชั้น ด้านซ้ายขวา เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับกระทรวงมหาดไทย ชื่อ"โรงเจเง็กเซ็งซำเป้าเก็งเต๊ง" (โรงเจซำเป้าอัมพวา) ภายใต้การบริหารงานในนามมูลนิธิคุณธรรมศาลา ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วิหารเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ผู้ถือศีลกินเจ ทั่วทุกสารทิศ ในแต่ละปีจะมีผู้มากราบไหว้บูชาปฎิบัติธรรมหลายหมื่นคน และเพิ่มขึ้นทุกๆปี ปี 2548 คณะกรรมการโรงเจฯมีมติให้สร้างวิหารเจ้าแม่กวนอิม โพธิสัตว์ เป็นวิหารกว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 7 ชั้น ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ปางพันเนตรพันกร สร้างจากไม้มะยมหอม หน้าตักกว้าง 6.8 เมตร สูง 8.21 เมตร ประดิษฐานอยู่บนดอกบัว พระพักตร์งดงาม บนเศียรของเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ประดิษฐานพระพุทธรูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้นบุญ ต้นกุศล อันยิ่งใหญ่
11 พฤศจิกายน 2564
3402
แชร์
วัดบางกะพ้อม
วัดบางกะพ้อม ตั้งอยู่ที่บ้านบางกะพ้อมตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา เป็นวัดที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2312 มีเรื่องเล่าว่าสามีภรรยาคู่หนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณวัด มีอาชีพสานกะพ้อมขาย วันหนึ่งกองทหารพม่ายกมาปล้นบ้านเรือนราษฎรในเมืองสมุทรสงคราม ทหารพม่าได้เข้าปล้นบ้านสามีภรรยาคู่นี้ด้วย ขณะนั้นสองสามีภรรยากำลังสานกะพ้อมอยู่ตามปกติ เมื่อทหารยกกำลังมาถึง ทั้งสองคนก็มุดนั่งลงในกะพ้อม ต่างคนต่างเงียบอยู่ในกะพ้อม แล้วตั้งสัจจะอธิษฐานว่าให้ปลอดภัยจากพม่าแล้วจะยกบ้านเรือนที่ดินสร้างวัดไว้ในพระพุทธศาสนา เมื่อพม่าถอยกลับไปแล้วปรากฏว่าทั้งสองคนปลอดภัยและไม่มีทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นที่น่าอัศจรรย์ หลังจากนั้นจึงได้บริจาคที่ดินบ้านเรือนสร้างวัดตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท กล่าวกันว่าเจ้านายในราชวงศ์จักรีองค์หนึ่งมาบวชจำพรรษาอยู่วัดนี้แล้วสร้างขึ้นลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมจีน หลังคาทรงทึบมุงกระเบื้องดินเผา หน้าบันปูนปั้นรูปบุคคลขนาดใหญ่ แต่งกายคล้ายทหารฝรั่งและลายพันธุ์พฤกษา ผนังวิหารก่ออิฐถือปูนทึบกว้างไม่มีเสา ด้านหน้าและหลังมีประตูทางเข้าด้านละ 1 ประตู ซุ้มประตูปูนปั้นทาสีลักษณะคล้ายเก๋งจีน ขอบประตูเป็นรูปวงกลม ด้านข้างประตูทางด้านหน้ามีรูปตุ๊กตาทหารปูนปั้น ด้านหลังมีชิ้นส่วนของตุ๊กตาอับเฉาตั้งอยู่ทั้งสองข้าง ซุ้มหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและลายเทศกรอบหน้าต่างเป็นรูปไข่ ภายในพระวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุก 4 รอยซ้อนกัน มีจารึกคำว่า "ขุนรองจ่าเมืองกับอุบาสิกาทรัพย์เข้าด้วย 1 ชั่ง" บริเวณฝาผนังด้านในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านล่างจะมีซุ้มโค้งประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแสดงปางต่าง ๆ โดยรอบ ด้านบนมีภาพปูนปั้นนูนสูงทาสีปิดทองตกแต่งเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ เจดีย์และพระพุทธไสยาสน์ ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมากมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมมีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนฐานด้านล่างเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ก่อด้วยทรายเคลือบสีน้ำตาล มีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านบน 1 องค์ ด้านหน้าเป็นวิหาร ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมากไม่สามารถบอกรูปทรงได้ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นและพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงจำนวนหนึ่ง วิหารแกลบ ตั้งอยู่ด้านข้างเจดีย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดง ลงรักปิดทอง แสดงปางมารวิชัยศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านหน้าวิหารแกลบมีระเบียงก่ออิฐถือปูนเตี้ย ๆ ด้านข้างวิหารแกลบพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่อีก 1 องค์มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปในวิหารแกลบ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารเครื่องไม้หลังคามุงกระเบื้องขนาดใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 27
11 พฤศจิกายน 2564
3401
แชร์
สักการะอากงกวนอู
ประวัติเจ้าพ่อกวนอู ศรัทธาความเชื่อที่มีต่อเจ้าพ่อกวนอู หรือชาวชุมชนอัมพวา เรียกท่านว่า อากงกวนอู ซึ่งเป็นเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ได้มีชาวจีนได้เดินทางมาจากเมืองจีนและได้มาตั้งรกรากในพื้นที่อัมพวาโดยนำเอาเจ้าพ่อกวนอูมาจากเมืองจีนด้วย และได้อัญเชิญเจ้าพ่อกวนอูมาประดิษฐานไว้ที่โรงเรียนจีน ต่อมาเจ้าของที่ดินบริเวณอาคารสำนักงานเทศบาลตำบลอัมพวาที่บ้านมีคนป่วยจึงได้บนบานศาลเกล่ากับองค์เจ้าพ่อกวนอูว่าถ้าหากหายป่วยจะมอบที่ดินตรงนี้ให้เป็นที่ประดิษฐานองค์เจ้าพ่อกวนอู ผลปรากฏว่าคนป่วยหายป่วยจริง ๆ เจ้าของที่ดินนี้จึงได้สร้างอาคารไม้ 2 ชั้นขึ้น แล้วทำการจำลององค์เจ้าพ่อกวนอูขึ้นใหม่เพื่อมาประดิษฐาน ณ อาคารไม้ 2 ชั้น ดังกล่าว โดยเทศบาลตำบลอัมพวาก็ใช้อาคารสถานที่แห่งนี้เป็นสำนักงานจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้เผาผลาญตลาดอัมพวาเกือบทั้งหมด โดยต้นเพลิงอยู่ด้านข้างเทศบาล เป็นร้านเป็ด ไก่ต้ม ในสมัยนั้น เพลิงได้ไหม้เผาผลาญไปถึงร้านค้าริมคลองอัมพวา สะพานข้ามคลองอัมพวาถูกไฟไหม้ไปบางส่วน แต่เมื่อเปลวเพลิงลุกไหม้ใกล้เข้ามาถึงตัวอาคารซึ่งเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง ที่มีเจ้าพ่อกวนอูประดิษฐานอยู่ แต่ว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ได้เกิดกระแสเปลวเพลิงย้อนกลับไป ทำให้เปลวเพลิงมาไม่ถึงตัวอาคารไม้ทั้งหลังของเทศบาล ทำให้อาคารเทศบาลไม่ถูกไฟไหม้ ชาวตลาดอัมพวาเชื่อกันว่าเป็นอภินิหารของเจ้าพ่อกวนอูมาช่วยปัดเป่า เนื่องจากชั้นบนของอาคารเทศบาลเป็นทีประดิษฐานของเจ้าพ่อกวนอูนั่นเอง และในราวปี พ.ศ. 2496 ตลาดอัมพวาก็ได้ถูกสร้างตึกแถวขึ้นมาใหม่แทนอาคารที่ถูกไฟไหม้
7 พฤศจิกายน 2567
3315
แชร์
วัดเกษมสรณาราม(วัดบางจาก)
วัดเกษมสรณาราม ตั้งอยู่ที่บ้านบางจาก ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น เดิมชื่อ "วัดใหม่ตาเพชร" จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดบางจาก" และต่อมาเปลี่ยนเป็น "วัดเกษมสรณาราม" แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่าวัดบางจาก จากคำบอกเล่า ตาเพชรเป็นผู้ถวายที่ดินและสร้างวัดขึ้นแต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในปีใด สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ หน้าบันไม้แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีลวดลายก้านขดตกแต่ง ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ฝาผนังอุโบสถด้านในมีจิตรกรรม กล่าวกันว่าพระอธิการกั๊วะ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้นำช่างมาวาดภาพลักษณะคล้ายกับภาพจิตรกรรมบนศาลาวัดบางจะเกร็งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ ใบเสมา ตั้งอยู่ในซุ้มใบเสมา ก่ออิฐถือปูน ทรงคล้ายหัวเม็ดโปร่ง ใบเสมาคู่ ลักษณะแตกต่างกัน ใบหนึ่งเป็นใบเสมาศิลปะอยุธยาตอนปลาย และอีกใบเป็นเสมาศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 3) ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 27
11 พฤศจิกายน 2564
3072
แชร์
วัดนางวัง
วัดนางวัง ตั้งอยู่ในตำบลอัมพวา ิำเภออัมพวา จากคำบอกเล่าที่สืบต่อมาของชาวบ้านกล่าวว่า ผู้สร้างวัดเป็นคหบดีชื่อ "นางวัง" ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดยายวัง" หรือเรียกเป็นทางการว่า "วัดนางวัง"ในปลายรัชกาลที่ 7 หลักฐานในคัมภีร์ใบลานระยุชื่อวัดว่า "วัดเพชรน้อยนางวัง" ประวัติการก่อสร้างไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าวัดนางวังสร้างขึ้นในปี พ.ศ.ใด แต่จากหลักฐานโบราณวัตถุที่พบในวัด สันนิษฐานได้ว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 20) สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย หลวงพ่อแดง ประดิษฐานในวิหารด้านหน้าอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงลงรักปิดทองศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันองค์พระพุทธรูปประทับนั่งเหนือปัทมาสน์ก่ออิฐถือปูนตกแต่งด้วยการประดับกระจกสีและระบายสี เบื้องต้นสามารถสันนิษฐานได้ว่า "หลวงพ่อแดง" น่าจะเป็นพระพุทธรูปประธานของพระอุโบสถหลังแรกของวัดนางวัง ซึ่งถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังลงแม่น้ำแม่กลองไป ใบเสมา บริเวณด้านหน้าอุโบสถวัดนางวังมีซุ้มเสมาจำนวน 3 ซุ้ม ภายในซุ้มประดิษฐานใบเสมา จำนวน ซุ้มละ 2 - 3 ใบ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 รูปแบบ ธรรมาสน์ บุษบกเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก เดิมถูกถอดออกเป็นชิ้นส่วนกองรวมกันไว้ ต่อมาพระครูกิตติธุราทรเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันและชาวบ้านร่วมกันประกอบขึ้นใหม่เป็นธรรมาสน์ทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง จากรูปแบบทางศิลปกรรมของธรรมาสน์ น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ หมู่กุฏิสงฆ์จำนวน 4 หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอุโบสถ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารไม้ฝาปะกน มีระเบียงด้านหน้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีช่องลมฉลุลายประดับ กุฏิหลังที่สองหน้าจั่วมีอักษรบนแผ่นไม้ทรงแปดเหลี่ยมระบุว่า "แม่นิ่ม นุ้ยนาฎ กุลานุช วราสัย สร้าง พ.ศ.2477" ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีชายคาปีกนกคลุมโดยรอบ หน้าบันไม้แกะสลักลวดลาย ลงรักปิดทองประดับกระจก หน้าบันด้านทิศตะวันตกเป็นลายก้านขด ตรงกลางลายด้านล่างเป็นรูปยันต์ "นะ" อยู่ในกรอบกระหนกเปลวทรงกลมเหนือขึ้นไปมีอักษรระบุ "พ.ศ.2491" ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 27
11 พฤศจิกายน 2564
2967
แชร์
สถานที่ท่องเที่ยวโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์
ประวัติความเป็นมา นางสาว ประยงค์ นาคะวะรังค์ ข้าราชการบำนาญโรงพยาบาลทรวงอก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน ๕ แปลง พื้นที่รวม ๒๑ ไร่ ๑๒ ตารางวา ในตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมูลนิธิชัยพัฒนาได้รับโอนเป็นกรรมสิทธ์ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ จนกระทั่งวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ อย่างเป็นทางการ และต่อมาในปี ๒๕๕๔ นางวณี ด้วงคุ้ม และนางประทิน ด้วงคุ้ม ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินสวนผลไม้ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา เนื้อที ๒ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา และ ๒ ไร่ ๓ งาน ๗๒ ตารางวา ตามลำดับ เวลาทำการ วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. วันศุกร์ เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. การใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ และมีการจัดกิจกรรม เชื่อมโยงการใช้ประโยชน์พื้นที่ต่างๆ ภายในโครงการ และแหล่ง ท่องเที่ยวอื่นๆ ของอัมพวา เป็น ๕ ส่วน ประกอบด้วย ๑) พื้นที่สวนชัยพัฒนานุรักษ์ จัดพื้นที่สวนผลไม้ดั้งเดิม เป็นสวนเกษตรแบบผสมผสานไม่ใช้สารเคมี มีการปลูกพันธุ์พืชท้องถิ่น เช่น ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม มะพร้าวพันธุ์ต่างๆ ผสมผสานกับพืชอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น กล่วย ตะไคร้ มะปราง ฯลฯ โดยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและวิธีชีวิตท้องถิ่นอัมพวาในด้านการ เกษตร ส่งเสริมให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเกษตรระหว่างเกษตรกรชาวสวน นักวิชาการ และผู้สนใจ ๒) ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ และลานสวนชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นลานอเนกประสงค์สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ชุมชน และคนในท่องถิ่นเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายหรือจัดแสดง สินค้าที่เป็นของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ๓) ร้านค้าชุมชนของโครงการฯ เป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ภัทรพัฒน์ของมูลนิธิชัยพัฒนาโดยมี วัตถุประสงค์เป็นแกนกลางในการส่งเสริมการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงหน่วยงานองค์กรต่างๆ รวมถึงผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาส และสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถต่อยอดพัฒนาสินค้า/ผลิตภัณฑ์และ พัฒนาธุรกิจของชุมชนด้วยตน เองได้อย่างยั่งยืนในระยะต่อไป ๔) ร้านชานชาลา เป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม และอาหารว่าง โดยร้านชานชาลาจะเป็นพื้นที่เปิดเชื่อมโยงกิจกรรมริมคลองอัมพวา ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์และพื้นที่สวน รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิชัยพัฒนา และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ร้านชานชาลามีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมค้าขาย ริมคลองอัมพวา โดย เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวซื้ออาหารจากเรือ และพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามารับประทานในร้าน เป็นหน้าบ้านที่อบอุ่น ร้านชานชาลา ๕) ห้องนิทรรศการชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางวัฒนธรรมชุมชนต่างๆหมุนเวียนให้สอด คล้องกับการจัดงานเทศกาล และกิจกรรมภายในพื้นที่โครงการฯ เปิด โอกาสให้ชุมชน และผู้สนใจเข้าร่วมจัดนิทรรศการ โดยให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ ความภาคภูมิใจแก่ชุมชน ส่งเสริม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ความรู้ภูมิปัญญา ของชุมชน และท้องถิ่น
11 พฤศจิกายน 2564
2926
แชร์
Copyright 2024
amphawa.thailocallink.com
All rights reserved.
Powered by
CityVariety Corporation
ช่วยเหลือ |
นโยบายของเว็บไซต์ |
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัย |
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล